Archives for ผลิตพลาสติก

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก แบบปลดชิ้นงานโดยใช้แรงดันอากาศ Air Ejection

ในการฉีดพลาสติก เมื่อพลาสติกหลอมเหลวถูกดันสู่แม่พิมพ์แล้ว ในขั้นตอนต่อไปคือการ cooling ชิ้นงาน เมื่อชิ้นงานเซทตัวดีพอแล้ว จึงทำการปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ ในขั้นตอนนี้เราเรียกกันว่า Ejection โดยทั่วไปแล้ว การปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ เรามักใช้ ejector pin หรือแผ่นใช้ปลดชิ้นงาน ejector plate ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของชิ้นงานนั้นๆ ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีการปลดชิ้นงานโดยใช้ลม ซึ่งเรียกว่า air ejector

การปลดชิ้นงานโดยใช้ลม คือการใช้แรงดันลมจากแหล่งกำเนิดภายนอก ต่อเข้าสู่ตัวแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เมื่อแม่พิมพ์เปิด ลมจะได้ดันชิ้นงานให้หลุดออกจากตัวแม่พิมพ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะขึ้นอยู่กับชิ้นงานว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็ก และชิ้นงาน

Read More

เกลียวพลาสติกด้านข้าง

การปลดเกลียวพลาสติกด้านข้าง



ในงานออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก ผู้ออกแบบโดยมากมักจะออกแบบให้ชิ้นงานพลาสติกสามารถผลิตได้โดยง่าย ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์ที่ใช้ผลิต และกระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก เนื่องจากหากชิ้นส่วนพลาสติกมีความซับซ้อนมาก จะทำให้ราคาแม่พิมพ์สูงขึ้น และยังต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างแม่พิมพ์ที่นานขึ้นตามไปด้วย หลังจากได้แม่พิมพ์ เมื่อนำไปทำการผลิตชิ้นงานพลาสติก ระยะเวลาฉีดสำหรับชิ้นงานพลาสติกที่ซับซ้อนมักจะนานกว่า ทำให้ราคาฉีดสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกที่ซับซ้อนได้ ก็จำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์เพื่อให้สามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

การทำเกลียวในชิ้นส่วนพลาสติกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เนื่องจากทิศทางในการเปิดแม่พิมพ์มีทิศทางเดียว แต่การปลดเกลียว(ในกรณีนี้พูดถึงการทำเกลียวใน) จำเป็นต้องใช้การเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง(การหมุนและการเคลื่อนที่ตามแนวแกน)  ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จึงต้องจัดทำระบบกลไก เพื่อให้เกิดการหมุนและเลื่อนไปตามแนวแกนพร้อมกันในขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ ตามภาพด้านบน เมื่อแม่พิมพ์เปิดจะมีแกนเลื่อนเพื่อเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแนวนอน Read More