Archives for บล็อกพลาสติก

แม่แบบพลาสติกกระทุ้งสองขั้นตอน

แม่พิมพ์พลาสติกกระทุ้ง2ชั้น Double Stage Ejection



ชิ้นงานพลาสติกที่มีขนาดใหญ่แต่มีผนังบาง มักจะต้องออกแบบวิธีการปลดหลายขั้นตอน โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถวางเข็มกระทุ้งให้ดันส่วนผนังข้างหรือโครง ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงพอจะรับแรงกระทุ้งโดยไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหาย จากภาพตัวอย่างด้านล่างชิ้นงานลักษณะนี้จะไม่สามารถกระทุ้งที่ผนังชิ้นงานได้โดยตรง

double-stage-ejection

double-stage-ejection


ในกรณีนี้ต้องออกแบบระบบปลดชิ้นงานแบบสองขั้นตอน ชิ้นงานจะถูกแกะออกจากคอร์ก่อน ในระหว่างเปิดแม่พิมพ์โดยใช้แผ่น Stripper สปริงที่อยู่ในชุดกระทุ้งจะต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่ยุบตัวในขั้นตอนนี้ ทันทีที่แผ่นกระทุ้งชนกับแผ่นยึดคอร์ สปริงจะถูกอัดให้ยุบตัว ทำให้เข็มกระทุ้งดันชิ้นงานหลุดออกจากแผ่น Stripper ทำให้สามารถปลดชิ้นงานได้อย่างสมบูรณ์

งานฉีดพลาสติกงอโค้งที่มีสาเหตุจากความแตกต่างของการหดตัว

งานฉีดพลาสติกงอโค้งที่มีสาเหตุจากความแตกต่างของการหดตัว



ในงานฉีดพลาสติก การหดตัวที่ไม่เท่ากันในทิศทางการไหลและทิศทางตั้งฉากกับการไหล จะทำให้ชิ้นงานมีโอกาสงอโค้ง และถ้ารูปร่างของชิ้นงานไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ ก็จะเกิดการเสียรูปได้ ในกรณีที่ชิ้นงานฉีดเป็นแผ่นอย่างง่ายๆ โดยฉีดเข้าที่ gate ซึ่งกว้างเต็มแผ่น ดังภาพที่1 ทิศทางการไหลและทิศทางที่ Orientation เกิดมากที่สุด จะอยู่ขนานกับด้านข้างของชิ้นงาน เมื่อชิ้นงานเย็นตัวลงการหดตัวตามความยาวของชิ้นงานจะมีมากกว่าการหดตัวตามความกว้าง แต่เนื่องจากผลที่เกิดไม่มีความเค้นภายในชิ้นงานจึงไม่เกิดการบิดงอ

การหดตัวที่ไม่เท่ากันในงานฉีดพลาสติก

การหดตัวที่ไม่เท่ากันในงานฉีดพลาสติก

ในกรณีของชิ้นงานรูปจานกลม ดังภาพที่2 เข้า gate ตรงกลางจุด O การหดตัวมากที่สุดจะอยู่ตามเส้นทางการไหล OA,OB การหดตัวตามเส้นตั้งฉากกับการไหล PC,PD จะน้อยกว่าและทำให้มีเนื้อพลาสติกเกินมาในแนวเส้นรอบวงของชิ้นงาน จึงมีความพยายามที่จะปรับตัว ให้เหมากับเส้นผ่าศูนย์กลางของจานที่ลดลงไป ซึ่งเป็นไปได้เมื่อชิ้นงานเกิดการงอโค้ง การเปลี่ยนสภาพการฉีดเพื่อลด Orientation จะลดความแตกต่างของการหดตัว ขณะที่การเปลี่ยนเกรดของพลาสติกไปเป็นเกรดที่มี Orientation น้อย และความแตกต่างของการหดตัวน้อย จะช่วยลดการงอโค้งได้ การใช้พลาสติกที่น้ำหนักของโมเลกุลน้อย Read More

การฉีดชิ้นงานโดยไม่มีทางวิ่งน้ำพลาสติก Runnerless Moulding

Runnerless Moulding การฉีดชิ้นงานโดยไม่มีทางวิ่งน้ำพลาสติก



สำหรับการฉีดชิ้นงานโดยไม่มี runner จะต่อหัวฉีดเข้าไปถึงชิ้นงาน พลาสติกจะฉีดผ่าน Pin-Point gate ผิวหน้าของหัวฉีดจะเป็นส่วนหนึ่งของผิวคาวิตี้ เป็นสาเหตุให้เกิดรอย gate (ผิวด้านและจะเป็นรอยคลื่น) ดังนั้นหัวฉีดควรมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-12 มม. เนื่องจากหัวฉีดสัมผัสกับแม่พิมพ์ที่เย็นกว่าในระหว่างการฉีดและให้แรงดันตาม วิธีการนี้จึงใช้ได้กับชิ้นส่วนที่มีผนังบาง และฉีดติดต่อกันอย่างรวดเร็วไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อนาที เพื่อป้องกันพลาสติกที่หัวฉีดแข็งตัว ซึ่งหัวฉีดจะถูกทำให้ร้อนจากการนำความร้อน การฉีดแบบนี้จึงมีข้อจำกัดในการใช้งาน

การฉีดชิ้นงานโดยไม่มี runner นี้ ปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นระบบที่พลาสติกภายใน runner และ gate คงระดับอุณหภูมิที่จะใช้ฉีดไว้ตลอดเวลา ด้วยการให้ความร้อน เช่น แม่พิมพ์ที่มี runner หุ้มฉนวน และ hot runner เป็นต้น