Archives for แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

Slide Block Locking

โมล์ดฉีดพลาสติก แบบที่มี slide core ผู้ออกแบบแม่พิมพ์สามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะชิ้นงาน,ขนาด และข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนที่ใช้สร้างแม่พิมพ์ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็มีข้อดี,ข้อเสียแตกต่างกันไป ในบทความนี้จะยกตัวอย่างวิธีการออกแบบที่นิยมใช้กันอยู่ 4 แบบ

รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก
รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่ 1 โมล์ดพลาสติก แบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงดันไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีความแข็งแรงต่ำ มีโอกาสที่สลักเกลียวที่ใช้ยึดจะยืดออก ส่งผลให้ในจังหวะฉีด slide จะถอยกลับได้ ซึ่งจะทำให้ชิ้นงานพลาสติกเกิดครีบแลบได้

ภาพที่ 2 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะคล้ายคลึงกับภาพที่ 1 แต่ความยาวสลักเกลียวน้อยกว่าจะมีความแข็งแรงมากกว่า ในบางครั้งจะให้ความร้อนแก่สลักเกลียวในการประกอบด้วย

รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก
รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่ 3 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะทำการขุดเป็น sub insert ในชุดแม่พิมพ์อีกที แบบนี้จะดีกว่า 2 แบบแรก

ภาพที่4 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะทีความแข็งแรงมากที่สุด โดยทำมาจากวัสดุก้อนเดียวกันเลย แต่จะทำให้สิ้นเปลืองวัสดุและเวลาในการตัดเฉือนมากกว่า ซึ่งทำให้ต้นทุนของแม่พิมพ์สูงขึ้นตามไปด้วย

ฉีดพลาสติก และอัตราการเย็นตัว

โมลฉีดพลาสติกล้วนถูกออกแบบมาเพื่อ ฉีดพลาสติก ให้ได้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์ถูกต้องตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ ในขั้นตอนการสร้าง แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก นั้น หากผู้ออกแบบขาดประสบการณ์ในงานฉีดพลาสติก อาจทำให้ชิ้นงานพลาสติกเกิดปัญหาขึ้นได้

ในการฉีดพลาสติกจุดที่ส่งผลต่อชิ้นงานพลาสติกคือแรงดันและอุณหภูมิ ซึ่งมีผลต่อการหดตัวของชิ้นงาน ความหนาของผนังชิ้นงานที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อเวลาในการหล่อเย็นที่ต่างกัน และมีโอกาสที่จะเกิดฟองอากาศด้านในได้

อัตราการเย็นตัวงานฉีดพลาสติก
การเย็นตัว งานฉีดพลาสติก

จากตารางที่1 แสดงความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการหล่อเย็นชิ้นงาน โดยแบ่งชิ้นงานเป็น4แบบ มีความหนาชิ้นงานเท่ากัน แตกต่างกันเพียงจุดรอยต่อขอชิ้นงาน จะเห็นได้ว่าชิ้นงาน a ใช้เวลาในการหล่อเย็นถึงจุด Te น้อยกว่าชิ้นงาน d ถึง15วินาที

แม่พิมพ์พลาสติก แบบกระทุ้งเลื่อนได้ Lifting Ejector

แม่พิมพ์พลาสติก ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน มีการออกแบบหลากหลายรูปแบบตามประเภทของชิ้นงานที่ผลิต ในอดีตการออกแบบแม่พิมพ์มักหลีกเลี่ยงชิ้นงานที่มีความซับซ้อน เนื่องจากข้อจำกัดในด้านกระบวนการตัดเฉือนโลหะ เพื่อควบคุมไม่ให้ราคาแม่พิมพ์สูงจนเกินไป
ปัจจุบันการออกแบบแม่พิมพ์มี software ที่ช่วยในการออกแบบมากมาย อีกทั้งในกระบวนการตัดเฉือนโลหะ ยังเป็นระบบ CNC ทั้งหมดแล้ว ทำให้มีความแม่นยำในการผลิตมากขึ้น ส่งผลให้สามารถออกแบบแม่พิมพ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

แม่พิมพ์พลาสติก แบบกระทุ้งเลื่อน lifting ejector #แม่พิมพ์พลาสติก #ฉีดพลาสติก
ภาพที่ 1 แม่พิมพ์พลาสติก แบบกระทุ้งเลื่อน lifting ejector #แม่พิมพ์พลาสติก #ฉีดพลาสติก
Read More

Flexible cores pin เข็มกระทุ้งแบบให้ตัวได้/ ฉีดพลาสติก# แม่พิมพ์พลาสติก#

เข็มกระทุ้งแบบหดตัวได้ Flexible cores pin

งานฉีดพลาสติกบางรูปแบบ แม่พิมพ์พลาสติกจะมีความซับซ้อน ขึ้นอยู่กับลักษณะของชิ้นงานพลาสติกที่ขึ้นรูป โดยปกติในงานออกแบบมักหลีกเลี่ยงข้อจำกัดดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

Read More

รูระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติก

การทำรูระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติก



ในกระบวนการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ พลาสติกหลอมเหลวจะถูกเครื่องฉีดอัดด้วยแรงดันสูงเข้าสู่แม่พิมพ์ การไหลของพลาสติกหลอมเหลวเพื่อเติมเต็มโพรงแบบภายในแม่พิมพ์อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที การออกแบบแม่พิมพ์พลาสติก จึงควรคำนึงถึงการไหลเข้าของพลาสติกเพื่อเติมเต็ม และการไหลออกของอากาศภายในโพรงแบบ เพื่อให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมามีคุณภาพสมบูรณ์ ไม่เกิดรอยตำหนิที่ชิ้นงาน

โดยปกติเรามักเลือกใช้ค่า ตามตารางด้านล่างนี้ เพื่อออกแบบระยะห่างของแม่พิมพ์ตามชนิดของพลาสติก

รูระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติก

รูระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติก

การระบายอากาศภายในแม่พิมพ์ควรพิจารณาดังนี้

1.การทำรูระบายอากาศต้องคำนึงถึงความหนืดของพลาสติกแต่ละชนิด ซึ่งค่าความหนืดขึ้นอยู่กับ
-อุณหภูมิของแม่พิมพ์
-อุณหภูมิของพลาสติกที่ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์
-ความดันในการฉีดพลาสติก

2.อุณหภูมิที่ตำแหน่งของรูระบายอากาศ

3.ความดันที่ cavity

แม่พิมพ์พลาสติกแบบแยกที่ขับด้วย Angular Cam

แม่พิมพ์พลาสติกที่ขับด้วย Angular Cam



รูปแบบของชิ้นงานพลาสติกที่มี Undercut จะไม่สามารถปลดออกจากแม่พิมพ์ด้วยวิธีการกระทุ้งตามปกติได้ แม่พิมพ์พลาสติกที่ทำการขึ้นรูปต้องออกแบบให้เป็นแม่พิมพ์แบบสไลด์ ซึ่งระบบขับเคลื่อนกลไกเพื่อขับเลื่อนชุดสไลด์นี้ สามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบแม่พิมพ์และข้อจำกัดเรื่องรูปร่างของชิ้นงาน

แม่พิมพ์พลาสติกแบบใช้ Angular Cam

แม่พิมพ์พลาสติกแบบใช้ Angular Cam

Credit ภาพ

แม่พิมพ์พลาสติกที่ขับด้วย Angular Cam นี้ จะทำงานโดยใช้การเคลื่อนที่เข้าออกของเครื่องฉีดพลาสติก ในจังหวะที่แม่พิมพ์ปิดเพื่อฉีดงาน ชุด Angular Cam จะดันชุดสไลด์ทั้ง2ฝั่งให้เลื่อนเข้าหากัน เมื่อเครื่องฉีดพลาสติกดันน้ำพลาสติกเข้าสู่โพรงแบบจนเต็มแล้ว ในจังหวะที่แม่พิมพ์เปิดเพื่อปลดชิ้นงาน แกน Angular Cam ที่เป็นช่วงแกนตรง จะยังไม่ไปเตะชุดสไลด์ ในจังหวะนี้ชิ้นงานด้านที่ติดฝั่งคาวิตี้จะถูกปลดออก เมื่อชุด Angular Cam เลื่อนไปจนกระทั่งปลาย Cam เตะ ชุดสไลด์จะถูกเปิดออกทำให้ Read More

แม่พิมพ์พลาสติกใช้ระบบลมดันปลดชิ้นงาน Air ejector

แม่พิมพ์พลาสติกใช้ระบบลมดันปลดชิ้นงาน



แม่พิมพ์พลาสติกโดยมาก ผู้ออกแบบแม่พิมพ์มักออกแบบให้ใช้เข็มกระทุ้งเป็นตัวดันปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ เพราะจะสะดวกในการออกแบบและซ่อมแซม อีกทั้งง่ายต่อการผลิตเนื่องจากที่เครื่องฉีดจะมีระบบกระทุ้งติดตั้งมาให้อยู่แล้ว ทำให้ผู้ผลิตแม่พิมพ์ส่วนใหญ่มักเรื่องใช้วิธีนี้

แม่พิมพ์พลาสติก แบบใช้ลมปลดชิ้นงาน

แม่พิมพ์พลาสติก แบบใช้ลมปลดชิ้นงาน

แต่ในชิ้นงานพลาสติกบางประเภทมีข้อจำกัดในเรื่องความแข็งแรงของวัสดุเข้ามาเกี่ยวข้อง ชิ้นงานพลาสติกประเภทที่เล็กจนไม่สามารถวางตำแหน่งเข็มกระทุ้งได้ หรือบางกรณีชิ้นงานมีความบางมากๆ เช่น ชาม,ถ้วย,แก้วน้ำ (Disposable) หากใช้เข็มกระทุ้งในการดันปลด Read More

Ejector Pin Sub-Gates

Ejector Pin Sub-Gates

ทางเข้าน้ำพลาสติกแบบมุดเข็มกระทุ้ง



แม่พิมพ์พลาสติกโดยส่วนใหญ่ ผู้ออกแบบแม่พิมพ์มักจะกำหนดทางเข้าน้ำพลาสติกให้อยู่กึ่งกลางของแม่พิมพ์ เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบเพื่อผลิตแม่พิมพ์และการฉีดพลาสติก แต่ในชิ้นงานพลาสติกบางชนิด นอกจากขนาดที่ถูกต้องแล้วเรื่องของผิวสัมผัสและความสวยงามของชิ้นงาน ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

Ejector Pin Gate

Ejector Pin Gate

เพื่อหลีกเลี่ยงตำหนิที่เกิดจากช่องทางเข้าของน้ำพลาสติก ผู้ออกแบบแม่พิมพ์มักเลือกใช้วิธี Read More

การอั้นอากาศในโมลพลาสติก

การอั้นอากาศในโมลพลาสติก



ขั้นตอนการฉีดพลาสติก เครื่องฉีดพลาสติกจะสร้างแรงดันให้น้ำพลาสติกหลอมเหลวไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ ซึ่งจะเข้าไปแทนที่อากาศภายในคาวิตี้ หากอากาศภายในแม่พิมพ์นี้ ไม่สามารถเล็ดลอดออกไปได้ ก็จะขัดขวางการไหลของน้ำพลาสติก ซึ่งจะทำให้อากาศภายในร้อนขึ้นเนื่องจากการอัดตัว เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยไหม้ที่ผิวชิ้นงานพลาสติก ทำให้ชิ้นงานเสียหาย

ปัญหาการอั้นอากาศในแม่พิมพ์ฉีด

ภาพที่ 1 แสดงปัญหาการอั้นอากาศในแม่พิมพ์ฉีด

โดยปกติ แม่พิมพ์พลาสติก ไม่จำเป็นต้องออกแบบร่องระบายอากาศ Read More

การใช้ 3D Printer สร้างต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติก

How to Make Injection Mould with 3D Printer



ขั้นตอนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก ต้องอาศัยเครื่องจักรหลากหลายชนิด เพื่อขึ้นรูปโลหะให้ตรงตามแบบทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกมีราคาสูง และ เมื่อได้ทำการตัดเฉือนโลหะไปแล้วหากมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบชิ้นงาน อาจต้องทำการขึ้นรูปใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ในปัจจุจบันได้มีการนำเครื่อง 3D Printer มาใช้ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับชิ้นงานต้นแบบ ซึ่งลดเวลาในการผลิตแม่พิมพ์ลงได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกลดลง

การใช้ 3D Printer ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่1 แสดงรูปแบบชิ้นงานและการวางตำแหน่งแม่พิมพ์

เริ่มต้นจากการออกแบบชิ้นงานและ insert ของแม่พิมพ์พลาสติก จากนั้นจึงทำโปรแกรมสั่ง 3D Printer เพื่อยิงชิ้นงาน insert แม่พิมพ์ต้นแบบขึ้นมา Read More