Archives for แม่พิมพ์ราคาถูก

Slide Block Locking

โมล์ดฉีดพลาสติก แบบที่มี slide core ผู้ออกแบบแม่พิมพ์สามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะชิ้นงาน,ขนาด และข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนที่ใช้สร้างแม่พิมพ์ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็มีข้อดี,ข้อเสียแตกต่างกันไป ในบทความนี้จะยกตัวอย่างวิธีการออกแบบที่นิยมใช้กันอยู่ 4 แบบ

รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก
รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่ 1 โมล์ดพลาสติก แบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงดันไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีความแข็งแรงต่ำ มีโอกาสที่สลักเกลียวที่ใช้ยึดจะยืดออก ส่งผลให้ในจังหวะฉีด slide จะถอยกลับได้ ซึ่งจะทำให้ชิ้นงานพลาสติกเกิดครีบแลบได้

ภาพที่ 2 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะคล้ายคลึงกับภาพที่ 1 แต่ความยาวสลักเกลียวน้อยกว่าจะมีความแข็งแรงมากกว่า ในบางครั้งจะให้ความร้อนแก่สลักเกลียวในการประกอบด้วย

รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก
รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่ 3 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะทำการขุดเป็น sub insert ในชุดแม่พิมพ์อีกที แบบนี้จะดีกว่า 2 แบบแรก

ภาพที่4 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะทีความแข็งแรงมากที่สุด โดยทำมาจากวัสดุก้อนเดียวกันเลย แต่จะทำให้สิ้นเปลืองวัสดุและเวลาในการตัดเฉือนมากกว่า ซึ่งทำให้ต้นทุนของแม่พิมพ์สูงขึ้นตามไปด้วย

การใช้ 3D Printer สร้างต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติก

How to Make Injection Mould with 3D Printer



ขั้นตอนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก ต้องอาศัยเครื่องจักรหลากหลายชนิด เพื่อขึ้นรูปโลหะให้ตรงตามแบบทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกมีราคาสูง และ เมื่อได้ทำการตัดเฉือนโลหะไปแล้วหากมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบชิ้นงาน อาจต้องทำการขึ้นรูปใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ในปัจจุจบันได้มีการนำเครื่อง 3D Printer มาใช้ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับชิ้นงานต้นแบบ ซึ่งลดเวลาในการผลิตแม่พิมพ์ลงได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกลดลง

การใช้ 3D Printer ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่1 แสดงรูปแบบชิ้นงานและการวางตำแหน่งแม่พิมพ์

เริ่มต้นจากการออกแบบชิ้นงานและ insert ของแม่พิมพ์พลาสติก จากนั้นจึงทำโปรแกรมสั่ง 3D Printer เพื่อยิงชิ้นงาน insert แม่พิมพ์ต้นแบบขึ้นมา Read More

แม่พิมพ์ที่ฝั่งตัวผู้สามารถยุบได้ Collapsible Core

แม่พิมพ์ที่ฝั่งตัวผู้สามารถยุบได้ Collapsible Core



แม่พิมพ์แบบนี้โดยมากจะใช้กับชิ้นงานขนาดเล็ก ในกรณีที่ชิ้นงานมีเกลียวด้านใน เราสามารถออกแบบให้คอร์เป็นแกนเหล็กหุ้มปลายด้วยยางซิลิกอน ซึ่งทำเป็นเกลียวนอก ถ้าแม่พิมพ์ปิดยางจะถูกอัดเข้าไปในคาวิตี้ ทั้งสองส่วนจะประกอบกันจนได้รูปคอร์ที่มีเกลียวถูกต้อง เมื่อแม่พิมพ์เปิดแกนเหล็กจะเลื่อนถอยกลับ ยางซิลิกอนยุบตัวลงทำให้ปลดชิ้นงานออกจากคอร์ได้ แม่พิมพ์แบบนี้จะมีราคาถูกกว่าแบบที่มีอุปกรณ์คลายเกลียว ยางซิลิกอนมีอายุการใช้งานไม่นานนัก แต่มีราคาไม่แพง และถอดเปลี่ยนได้ง่าย อย่างไรก็ตาม คอร์แบบนี้จะเกิดปัญหาในการหล่อเย็นและต้องใช้รอบการฉีดที่นานกว่า อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการใช้ คือไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดรอยที่ชิ้นงานหากใช้คอร์ที่ยุบตัว และไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำิเช่นเฟืองตัวหนอน

คอร์แบบยุบตัวได้

คอร์แบบยุบตัวได้

ตัวยางซิลิกอนเมื่อใช้งานไปสักระยะจะเกิดการสึกหรอ ยางจะเสียรูปจนใช้งานไม่ได้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในงานที่ควบคุมขนาด แต่สำหรับการฉีดชิ้นงานจำนวนน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ