Archives for May 2014

แม่พิมพ์เป่าพลาสติกแบบเป่ายืด Extrusion Blow Mold

Extrusion Blow Mold แม่พิมพ์เป่าพลาสติก



แม่พิมพ์ชนิดนี้จะใช้หลักการปล่อยพลาสติกหลอมเหลวไหลผ่านหัวดาย การกำหนดความหนาบางของชิ้นงานเป่าพลาสติกจะถูกกำหนดด้วยการไหลผ่านหัวดายนี้ เราเรียกพลาสติกหลอมเหลวนี้ว่า Parison ซึ่งเป็นเทคนิค ที่ทำการรีดพลาสติกหลอมเหลวเป็นท่อกลวง (parison) เมื่อพลาสติกหลอมเหลวไหลจนได้ระยะตามต้องการแล้ว ที่เครื่องเป่าพลาสติกจะเลื่อนแม่พิมพ์เข้ามาปิด จากนั้นจะมีท่อเลื่อนเข้าไปเป่าด้วยลมผ่านท่อ ทำให้เกิดการพองตัวภายในเบ้าแม่พิมพ์ วิธีนี้จะนิยมใช้กันมาก ชิ้นงานที่ได้จะควบคุมขนาดได้ไ่ม่ดีนัก,คุณภาพผิวก็ไม่สูงนัก,ตัวอย่างชิ้นงานที่ผลิตด้วยวิธีนี้ คือ ขดน้ำพลาสติกสีขาวขุ่น,แกลลอนน้ำมัน

การเป่าพลาสติกด้วยวิธีนี้ หลังจากที่เครื่องเป่าพลาสติกเริ่มปิดแม่พิมพ์ ใบมีดจะ๔ุกติดตั้งอยู่ด้านบนเื่อเครื่องเป่าพลาสติกเลื่อนเข้ามาปิด ใบมีดก็จะถูกเลื่อนเข้ามาตัดพาริสันในตำแหน่งเหนือส่วนบนของเบ้าเล็กน้อย เมื่อท่อลมเลื่อนเข้าไปเป่าในแกนกลางของพาริสัน ทำให้พลาสติกหลอมเหลวพองตัวแนบกับรูปร่างของแม่พิมพ์ (ความดันลมประมาณ 8 บาร์) เมื่อพลาสติกหลอมเหลวกระทบกับผนังแม่พิมพ์ที่ได้มีการหล่อเย็นไว้ โดยปกติจะนิยมใช้น้ำเย็นที่มีช่วงอุณหภูมิระหว่าง 5 ถึง 15 องศา ไหลหมุนเวียนในแม่พิมพ์เพื่อระบายความร้อน เมื่อชิ้นงานเซ็ทตัวแล้ว แม่พิมพ์ก็จะเลื่อนออกเพื่อปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ และเริ่มวัฎจักรของการผลิตต่อไป

งานฉีดพลาสติก2สี (Two Layer Injection Mold)

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกแบบ 2 สี (2Layer Injection Mold)



ในงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติก บางชิ้นงานมีความจำเป็นต้องแยกชนิดของพลาสติกเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน หรือเพื่อความสวยงาม เช่น ด้ามแปรงสีฟันหากเป็นพลาสติกชนิดเดียว เมื่อถูกน้ำจะทำให้ตัวพลาสติกลื่นทำให้จับไม่ถนัด จึงต้องทำการฉีดหุ้มวัสดุชนิดอื่นเข้าไป เพื่อให้จับใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ,ในกรณีที่ชิ้นงานต้องถูกสัมผัสบ่อยหรืออาจถูกการเสียดสีบ่อยครั้ง ลำพังแค่การพิมพ์สีลงบนชิ้นส่วนพลาสติกอาจยังไม่ทนทานเพียงพอ การฉีดพลาสติกเป็น2สีจะช่วยเพิ่มความทนทานต่อการใช้งานได้มากกว่า เช่นชิ้นงานประเภทปุ่มโทรศัพท์ ฯลฯ

งานแม่พิมพ์ฉีดหุ้มพลาสติก เครื่องจักรที่ใช้สำหรับฉีดต้องถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ซึ่งในส่วนของแม่พิมพ์ก็จะต้องทำเป็น 2 ชุดเช่นกัน

แม่พิมพ์พลาสติกฉีดหุ้ม

แม่พิมพ์ฉีดหุ้มพลาสติก

จากภาพด้านบน ในงานฉีดหุ้มพลาสติกจะมีแม่พิมพ์อยู่ 2 ชุด ซึ่งแม่พิมพ์ทั้ง 2 ชุดนี้ จะทำงานร่วมกัน ในจังหวะที่เริ่มทำการฉีดแม่พิมพ์จะเลื่อนเข้าหาหัวฉีดที่ 1 เพื่อฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่แบบ เมื่อน้ำพลาสติกถูกเติมเต็มในโพรงแบบแล้ว ตัวแม่พิมพ์จะเลื่อนออก ในจังหวะที่เลื่อนออก ด้านฝั่งคอร์ของแม่พิมพ์หัวฉีดที่ 1 จะหมุนสลับไปสู่หัวฉีดที่ 2 เพื่อทำการฉีดหุ้มชิ้นงาน ในจังหวะเดียวกัน ชิ้นงานที่อยู่ในหัวฉีดที่ 2 ก็จะถูกดันปลด และหมุนกลับไปที่หัวฉีด 1 เพื่อเริ่มฉีดทำการฉีดต่อไป

ในกรณีที่ผู้ฉีดไม่มีเครื่องฉีดที่มีระบบสลับแม่พิมพ์ อาจใช้วิธีการฉีดสีเดียวทั้งหมดก่อน แล้วจึงสลับแม่พิมพ์อีกชุดเพื่อฉีดอีกสี แต่ในกรณีนี้ต้องใช้แรงงานเพื่อใส่ชิ้นงานที่ฉีดมาแล้วเข้าไปในแม่พิมพ์ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น