Archives for July 2015

เกลียวพลาสติกด้านข้าง

การปลดเกลียวพลาสติกด้านข้าง



ในงานออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก ผู้ออกแบบโดยมากมักจะออกแบบให้ชิ้นงานพลาสติกสามารถผลิตได้โดยง่าย ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์ที่ใช้ผลิต และกระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก เนื่องจากหากชิ้นส่วนพลาสติกมีความซับซ้อนมาก จะทำให้ราคาแม่พิมพ์สูงขึ้น และยังต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างแม่พิมพ์ที่นานขึ้นตามไปด้วย หลังจากได้แม่พิมพ์ เมื่อนำไปทำการผลิตชิ้นงานพลาสติก ระยะเวลาฉีดสำหรับชิ้นงานพลาสติกที่ซับซ้อนมักจะนานกว่า ทำให้ราคาฉีดสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกที่ซับซ้อนได้ ก็จำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์เพื่อให้สามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

การทำเกลียวในชิ้นส่วนพลาสติกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เนื่องจากทิศทางในการเปิดแม่พิมพ์มีทิศทางเดียว แต่การปลดเกลียว(ในกรณีนี้พูดถึงการทำเกลียวใน) จำเป็นต้องใช้การเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง(การหมุนและการเคลื่อนที่ตามแนวแกน)  ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จึงต้องจัดทำระบบกลไก เพื่อให้เกิดการหมุนและเลื่อนไปตามแนวแกนพร้อมกันในขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ ตามภาพด้านบน เมื่อแม่พิมพ์เปิดจะมีแกนเลื่อนเพื่อเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแนวนอน Read More

ชิ้นงานพลาสติกที่มี undercut ภายใน

ชิ้นส่วนพลาสติกที่มี Undercut ภายใน



การออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกโดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นไปได้ผู้ออกแบบควรหลีกเลี่ยง การทำบ่าหรือเขี้ยวล็อคไว้ภายในชิ้นงาน เนื่องจากในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก จุดที่เป็นบ่าหรือเขี้ยวล็อคนี้ ต้องทำการออกแบบระบบกลไก เพื่อใช้ปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ ทำให้แม่พิมพ์มีราคาสูงขึ้น

ในกรณีที่จำเป็นต้องออกแบบให้มีบ่าล็อคภายใน ตามภาพด้านล่าง เป็นตัวอย่างชิ้นงานที่มี undercut ภายในที่ผนังของทั้งสองด้านตรงข้ามกัน โดยทั่วไปสามารถปลดได้ด้วยคอร์ที่ยุบได้ (Collapsible core) ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนที่มีผิวเอียงหลายชิ้น ดันให้อยู่ในตำแหน่งด้วยแกนกลางที่ทำเป็นเรียวและเลื่อนด้วย angle pin อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ไม่เหมาะกับชิ้นงานขนาดเล็กซึ่งใช้คอร์แยก (split core)ที่มีความแข็งแรงกว่า

Collapsible Core คอร์แบบยุบตัวได้

Collapsible Core คอร์แบบยุบตัวได้