เกลียวพลาสติกด้านข้าง

การปลดเกลียวพลาสติกด้านข้าง



ในงานออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก ผู้ออกแบบโดยมากมักจะออกแบบให้ชิ้นงานพลาสติกสามารถผลิตได้โดยง่าย ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์ที่ใช้ผลิต และกระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก เนื่องจากหากชิ้นส่วนพลาสติกมีความซับซ้อนมาก จะทำให้ราคาแม่พิมพ์สูงขึ้น และยังต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างแม่พิมพ์ที่นานขึ้นตามไปด้วย หลังจากได้แม่พิมพ์ เมื่อนำไปทำการผลิตชิ้นงานพลาสติก ระยะเวลาฉีดสำหรับชิ้นงานพลาสติกที่ซับซ้อนมักจะนานกว่า ทำให้ราคาฉีดสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกที่ซับซ้อนได้ ก็จำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์เพื่อให้สามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

การทำเกลียวในชิ้นส่วนพลาสติกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เนื่องจากทิศทางในการเปิดแม่พิมพ์มีทิศทางเดียว แต่การปลดเกลียว(ในกรณีนี้พูดถึงการทำเกลียวใน) จำเป็นต้องใช้การเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง(การหมุนและการเคลื่อนที่ตามแนวแกน)  ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จึงต้องจัดทำระบบกลไก เพื่อให้เกิดการหมุนและเลื่อนไปตามแนวแกนพร้อมกันในขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ ตามภาพด้านบน เมื่อแม่พิมพ์เปิดจะมีแกนเลื่อนเพื่อเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแนวนอน

และจะมีสลักยึดติดกับฟันเฟืองนี้ ปลายด้านหนึ่งของสลักจะเป็นเกลียวซึ่งจะยื่นอยู่ด้านในโพรงแบบเมื่อพลาสติกถูกเติมเต็ม เราจะไม่สามารถดึงแกนนี้ออกมาตรงๆได้ ต้องให้แกนนี้หมุนและเลื่อนออกเพื่อปลดชิ้นงาน ส่วนกลางของแกนจะถูกฟันเฟืองบิด ในขณะเดียวกันที่ด้านหลังของแกนนี้จะมีชุดเกลียวเลื่อนติดตั้งไว้ เมื่อแกนนี้หมุนจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง เลื่อนแกนที่เป็นเกลียวขึ้นรูปออกจากโพรงแบบ ทำให้สามารถปลดชิ้นงานได้

กระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการเปิด-ปิดแม่พิมพ์ ดังนั้นชุดเลื่อนนี้จะต้องมีความแม่นยำสูงมาก และห้ามมีการติดขัด จะทำให้ฉีดชิ้นงานไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากในการติดตั้งและจัดเก็บ ต่อมาภายหลังจึงได้เริ่มพัฒนามาเป็นการติดตั้งกระบอกไฮดรอลิคเข้าไปแทนชุดกลไก ซึ่ง admin จะเอาข้อมูลมานำเสนอคราวหน้า

Social tagging: > >

Comments are closed.