Archives for August 2014

พิมพ์ลายบนชิ้นงานพลาสติก In-Mould Labelling

In Mould Labellingการเพิ่มลวดลายบนชิ้นงานพลาสติก



ชิ้นงานพลาสติกที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปทั้งในระบบของงานฉีดพลาสติก,งานเป่าพลาสติกและงานเทอร์โมฟอร์มมิ่ง ล้วนแล้วแต่สามารถพิมพ์ลวดลายเพิ่มเติมได้ทั้งหมด กระบวนการพิมพ์ลายบนพลาสติกก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มความสวยงาม,ทนทานต่อการใช้งานมากขึ้น วิธีที่นิยมใช้กันมากในอดีตคือการสกรีนสีลงบนชิ้นงานพลาสติก โดยจะทำเป็นบล็อกเพื่อสกรีนสีลงไปขนาดของบล็อกขึ้นอยู่กับจำนวนสีและรูปร่างของชิ้นงานที่จะสกรีน วิธีการนี้จะเสียเวลาในการจัดเตรียมชิ้นงานและค่อนข้างวุ่นวายมากหากพิมพ์หลายสี

ต่อมาจึงได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้การกดสี(Pad Print) โดยใช้วัสดุที่ให้ตัวได้ทำการกดที่เพลทสี และจึงนำไปกดที่ชิ้นงานอีกที (ลักษณะเหมือนปั๊มตรายาง)วิธีการนี้จะรวดเร็วกว่า วิธีสกรีนแต่ก็ยังถูกจำกัดด้วยจำนวนสี หากต้องการพิมพ์หลายๆสีจำต้องมีแผ่นเพลทตามจำนวนสีนั้นๆ อีกทั้งยังเสียเวลาและพื้นที่ในการจัดเก็บขณะรอให้สีแห้ง ซึ่งทั้งสองวิธีตามที่กล่าวมา เมื่อชิ้นงานพลาสติกถูกใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง สีที่พิมพ์ไว้มีโอกาสหลุดลอกออก

จากข้อจำกัดเรื่องของสีจึงได้มีผู้พัฒนาโดยวิธีการพิมพ์ลวดลายลงบนฟิลม์พลาสติกก่อน แล้วจึงนำฟิลม์เข้าไปแปะในแม่พิมพ์ก่อนที่จะทำการฉีดพลาสติกหุ้มเข้าไป ตัวฟิลม์จะยึดติดกับผิวของแม่พิมพ์ด้วยไฟฟ้าสถิต ตำแหน่งในการวางฟิลม์จะต้องถูกต้องทุกครั้ง โดยส่วนมากจะใช้แขนกลเป็นตัวจับวางเพื่อให้ได้ตำแหน่งการวางที่แม่นยำและเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฎิบัติงาน ด้วยกระบวนการผลิตแบบนี้จะทำให้ได้ชิ้นงานพลาสติกที่มีสีสันสวยงามและไม่หลุดลอกจากการใช้งาน และวิธีการนี้ไม่เพียงใช้ได้กับการบวนการฉีดพลาสติก ยังสามารถใช้ได้กับงานเป่าพลาสติก,งานแวคคั่ม เทอร์โมฟอร์มมิ่งอีกด้วย อย่างไรก็ดีวิธีการนี้ไม่เหมาะกับการผลิตจำนวนน้อยๆ

การพิมพ์ลายบนพลาสติก

การพิมพ์ลายบนพลาสติก