การระบายอากาศในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

ตำแหน่งการเข้าน้ำพลาสติกที่ต่างกันจะส่งผลถึงคุณภาพชิ้นงาน

ตำแหน่งการเข้าน้ำพลาสติกที่ต่างกันจะส่งผลถึงคุณภาพชิ้นงาน

การระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติก

ในแม่พิมพ์พลาสติก ระหว่างที่พลาสติกหลอมเหลวไหลเข้าสู่แม่พิมพ์  น้ำพลาสติกนี้จะไหลเข้าไปแทนที่อากาศซึ่งกักอยู่ในคาวิตี้ ถ้าอากาศไม่สามารถเล็ดลอดออกจากคาวิตี้ได้  อากาศจะขัดขวางการไหลของน้ำพลาสติก นอกจากนี้อากาศอาจร้อนขึ้นเนื่องจากการอัดตัว จนพลาสติกที่อยู่รอบๆเกิดการไหม้ บางครั้งจะสามารถสังเกตุเห็นข้อบกพร่องของชิ้นงานจากแม่พิมพ์ที่การระบายอากาศไม่ดีพอ โดยปรากฎเป็นรอยไหม้ซึ่งมีสีดำที่บริเวณรอยต่อ (weld line) มุม หรือปีกที่อยู่ตรงข้ามกับ gate ส่วนใหญ่ของชิ้นงานเหล่านี้จะใช้ไม่ได้

โดยทั่วไปในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกไม่จำเป็นต้องมีการออกแบบร่องสำหรับระบายอากาศเป็นพิเศษ เพราะอากาศสามารถเล็ดลอดออกทางเข็มกระทุ้งหรือเส้นแบ่ง แต่จะเป็นเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจียรนัยผิวเส้นแบ่งให้มีความหยาบพอสมควรด้วยล้อเจียรนัยหยาบ แนวเส้นเจียรนัยต้องมีทิศทางออกอยู่ด้านนอก เพื่อให้น้ำพลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้ในลักษณะที่อากาศเล็ดลอดออกทางเส้นแบ่งได้ ถ้าวิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลก็อาจต้องทำตัวระบายอากาศเฉพาะสำหรับแม่พิมพ์

รูปร่างของชิ้นงาน และตำแหน่งของชิ้นงานในแม่พิมพ์,ชนิดของ gate จะมีผลต่อการระบายอากาศ ดังภาพด้านบน ทางด้านซ้ายมือ จะเป็นถ้วยที่ gate เข้าทางด้านล่าง อากาศที่ถูกกักเอาไว้จะถูกดันออกไปทางเส้นแบ่ง และสามารถเล็ดลอดออกไปได้ จึงไม่จำเป็นต้องทำตัวระบายอากาศเป็นพิเศษ ส่วนทางด้านขวามือ ถึงแม้ว่าจะเป็นชิ้นงานเดียวกัน แต่ gate เข้าด้านข้าง ระหว่างที่น้ำพลาสติกไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ จะไหลไปรอบฝั่งแม่พิมพ์ตัวผู้แล้วจึงไหลขึ้นด้านบนอย่างช้าๆ ดันอากาศไปที่ด้านล่างของถ้วย ณ. ตำแหน่งนี้ อากาสจะถูกอัดและร้อนจัด จึงต้องออกแบบใหม่เพื่อป้องกันข้อบกพร่องดังกล่าว

อย่างไรก็ดีในปัญหาที่กล่าวมา สามารถทำการแก้ไขได้โดยเพิ่มรอยต่อไปในจุดที่มีการอั้นของอากาศ อาจทำเส้นแบ่งเพิ่ม หรือฝังเข็มกระทุ้งเพิ่มเข้าไป สำหรับวิธีนี้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดี และค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่จะทำให้ชิ้นงานที่ผลิตออกมาเกิดรอยที่ผิวชิ้นงาน

 

Social tagging: > >

Comments are closed.