การสมดุลของแรงในแม่พิมพ์พลาสติก

การสมดุลแรงในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

การสมดุลแรงในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

จากบทความก่อนหน้านี้ เรื่องการวางหลุมแม่พิมพ์พลาสติกคงทำให้พอทราบวิธีการจัดวางท่อทางเดินน้ำพลาสติกและเหตุผลที่ต้องออกแบบทางวิ่งในรูปร่างต่างๆ เพื่อให้พลาสติกมีระยะทางเท่ากันน้ำพลาสติกจะได้เติมเต็มในโพรงแบบได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ในบางกรณีที่ชิ้นงานมีความซับซ้อนเราไม่สามารถวางตำแหน่งหัวฉีดให้อยู่ศูนย์กลางแม่พิมพ์ได้  ทำให้เราต้องเลื่อนตำแหน่งหัวฉีดให้อยู่เยื้องออกไป หรือในบางครั้งอาจเปลี่ยนตำแหน่งหัวฉีดให้ไปเข้าทางด้านข้างแทนได้

ในงานแม่พิมพ์พลาสติกบทบาทของทางวิ่ง เป็นส่วนที่ต่อจากแกนฉีดก่อนที่พลาสติกจะไหลเข้าสู่คาวิตี้ เป็นเส้นทางควบคุมการไหลของพลาสติกให้เข้าสู่คาวิตี้ ให้มีคุณสมบัติที่เหมือนกัน และมีความดันที่เท่ากันในเวลาเดียวกัน

เมื่อพลาสติกไหลผ่านทางวิ่งที่เย็น ด้วยความเร็วสูง ความร้อนจะถ่ายเทออกจากพลาสติกอย่างรวดเร็วตามหลักการถ่ายเทความร้อน พลาสติกจะเย็นตัวอย่างรวดเร็วและแข็งตัว เกิดเป็นชิ้นงานบางๆและทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อนให้กับเนื้อพลาสติกที่อยู่ภายในสามารถไหลได้ เนื้อภายในของทางวิ่งจะต้องแข็งตัวหลังจากที่ภายในคาวิตี้แข็งตัวหมดแล้ว เพื่อให้สามารถใช้ความดันย้ำ สำหรับเติมเนื้อพลาสติก เพื่อชดเชยการหดตัวของพลาสติกขณะแข็งตัวในคาวิตี้ได้

แสดงตำแหน่งทางวิ่งพลาสติก

แสดงตำแหน่งทางวิ่งพลาสติก (ที่มา wikipedia.org)

ตัวอย่างระบบป้อนของแม่พิมพ์แบบสองส่วนที่มี 4 cavity ซึ่งจะสังเกตเห็นเนื้อพลาสติกจะวิ่งผ่านรูหัวฉีด (Sprue) ทางวิ่งหลัก (Runner) ทางวิ่งกิ่ง (ติดกับ gate) ก่อนที่จะวิ่งเข้าสู่โพรงแบบ (Cavity) ในทางปฎิบัติควรจะลดระยะทางการวิ่งลงให้สั้นที่สุดเพื่อลดการสูญเสียแรงดันและความร้อน ด้วยเหตุผลนี้ในการออกแบบตำแหน่งของคาวิตี้ จึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวัง

ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมด การวางตำแหน่งคาวิตี้หากไม่สามารถออกแบบให้อยู่จุดศูนย์ถ่วงของแม่ิพิมพ์ได้ ให้เราหลีกเลี่ยงโดยใช้การเยื้องตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก

Social tagging: > >

Comments are closed.