ชุดกระทุ้งชิ้นงาน(Ejector Assembly)

ระบบกระทุ้งในโมลด์พลาสติก

ในโมลด์พลาสติกหรือช่างบางคนจะเรียกโมพลาสติก เมื่อทำการขึ้นฉีดชิ้นงานพลาสติกแล้ว เมื่อถึงรอบระยะเวลาตามกำหนด พลาสติกที่อยู่ภายในโมลด์ก็จะเย็นตัวพร้อมที่จะนำไปใช้งาน ระบบที่สำคัญอีกหนึ่งระบบในโมลด์พลาสติกก็คือ “ระบบปลดชิ้นงาน” หรือ “ระบบกระทุ้งชิ้นงาน” ซึ่งระบบนี้จะถูกออกแบบไว้ที่ด้านใต้ของโมลด์พลาสติก

แม่พิมพ์แบบมีเสาค้ำ

แม่พิมพ์แบบมีเสาค้ำ

ชุดของเข็มกระทุ้งจะประกอบด้วย แผ่นกระทุ้ง (Ejector plate) แผ่นยึด (retainer plate) ตัวหยุด (stoper) และกลไกดันกลับ ทั้งหมดเราเรียก ชุดกระทุ้ง ถ้าเข็มกระทุ้งหลายอันดันชิ้นงาน จะต้องดันพร้อมๆกัน ดังนั้น จึงประกอบอยู่กับแผ่นกระทุ้ง เข็มกระทุ้งที่ดันออกไปก่อน จะทำให้ชิ้นงานงอและขัดอยู่ในแม่พิมพ์ เข็มกระทุ้งจะใส่อยู่กับแผ่นยึดซึ่งติดกับแผ่นกระทุ้งด้วยสกรู แผ่นนี้จะทำงานโดยสลักที่ต่อกับระบบกระทุ้งของเครื่องฉีด ตัวหยุดจะจำกัดระยะเลื่อนของชุดกระทุ้ง ในระหว่างการปลดชิ้นงาน

การประกอบเข็มกระทุ้งเข้ากับแผ่นยึด ต้องทำแบบหลวมๆ พอให้ขยับทางด้านข้างได้ เพื่อให้เข็มกระทุ้งปรับแนวเข้ากับรูที่แม่พิมพ์ บางครั้งแผ่นกระทุ้งจะถูกชุบแข็งจนหัวของเข็มกระทุ้งไม่สามารถกดให้ยุบลงไปได้ อาจเป็นสาเหตุให้เข็มเกิดการขัดได้ ดังนั้นชุดกระทุ้งขนาดใหญ่จะมีสลักนำ (leader pin) ส่วนชุดกระทุ้งขนาดเล็ก อาจนำเลื่อนด้วยเข็มดันกลับ (return pin) เมื่อเริ่มต้นปลดชิ้นงาน แรงกระทุ้งทั้งหมดจะรวมอยู่ที่ศูนย์กลางของแผ่นกระทุ้ง แผ่นนี้จะต้องแข็งแรงพอที่จะไม่ถูกดันจนแอ่นเมื่อแม่พิมพ์ปิด ชุดกระทุ้งต้องกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นโดยเข็มไม่ได้รับความเสียหายจากส่วนขอแม่พิมพ์ที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งทำได้โดยใช้ เข็มดันกลับ,สปริง หรือกลไก toggle

โดยปกติชุดกระทุ้งจะอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์กลางของแม่พิมพ์ และเลื่อนอยู่ในที่ว่างแคบๆภายในแม่พิมพ์ จึงทำให้แผ่นคอร์แอ่นได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยใช้เสาค้ำ

Social tagging: > >

Comments are closed.